วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ความสำคัญของการตัดต่อ

ความสำคัญของการตัดต่อ
    
       การตัดต่อลำดับภาพมีความสำคัญในส่วนที่ทำให้ผู้ดูเข้าใจเรื่องราวที่นําเสนอและได้อารมณ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่ม จนจบเรื่อง

1. การดึงผู้ดูให้เข้าไปเกี่ยวของและเป็นส่วนหนึ่งกับเหตุการณ์ในเรื่องทำให้ผู้ดูเกิดสภาพอารมณ์ตามที่ผู้ตัดต่อต้องการ
2.  การสร้างเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง
3.  การเชื่อมต่อภาพให้ดูลื่นไหล
4.  การแก้ไขจุดบกพร่องที่อาจจะเกิดมาจากการถ่ายทำ
5.  การกำหนดเวลา หรือ การกําจัดเวลา



ที่มา : https://sites.google.com/site/digital57402/sux-dicithal/thekhnikh-kar-tad-tx-phaph-dwy-sux-dicithal

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อลำดับภาพด้วยระบบดิจิทัล (คอมพิวเตอร์)

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อลำดับภาพด้วยระบบดิจิทัล 
(คอมพิวเตอร์)

อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (
Hardware)
☼  1.   กล่องวีดิโอดิจิทัล (Video Digital Camera) กลองวีดิโอดิจิทัลในปัจจุบันมีมากมายหลายยี่ห้อ และหลายรุ่น ราคาแตกตางกันออกไป ทั้งนี้ราคาของกล้องวีดิโอดิจิทัลจะขึ้นอยู่กับความละเอียดของภาพและความคม ชัดของเสียงที่บันทึกได้ การจัดเก็บ ข้อมูลที่บันทึกได้มักนิยมเก็บไว้ในเทปที่เรียกว่า  Mini DV เพราะเก็บขอมูลภาพวีดิโอได้มาก
☼  2.   สาย Fire Wire หรือ สาย I-link เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างกล้องและคอมพิวเตอร์ เพื่อถ่ายโอนข้อมูล
☼  3.   การ์ดจับภาพ (capture card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำภาพวีดิโอออกจากกล้องเพื่อนำเขาเครื่องคอมพิวเตอร์
☼  4.  โปรแกรมที่ใช้สำหรับงานตัดต่อ ไดแก่
    •  โปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อไฟล์วีดิโอ เช่น Window  Movie  Maker,   Ulead Video   Studio,   Adobe  Premiere,
Macromedia Director  เป็นต้น
    •  โปรแกรมที่ใช้ในการแปลงไฟล์ เช่น ImTOO MPEG Encoder, WMA Converter, WinAVI Video Converter, Speed
Video Converter เป็นต้น
    •  โปรแกรมที่ใช้เขียนข้อมูลเพื่อสร้างแผ่น VCD  หรอ DVD    เช่น  Nero  Burning  Rom,  ultra  iso  ,  Alcohol  120%  , IsoBurner , Smart Tip (Freeware) เป็นต้น


การตัดต่อ

การตัดต่อ
        
            
 การตัดต่อภาพยนตร์ เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งในการสร้างภาพยนตร์ ซึ่งหมายถึง การลำดับภาพจากภาพยนตร์ที่ถ่าย ทำไว้ โดยนำแต่ละฉากมาเรียงร้อยกันตามโครงเรื่อง จากนั้นก็จะใช้เทคนิคการตัดต่อให้ภาพและเสียงมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เพื่อให้ได้ภาพยนตร์ที่มีความสมบูรณ์เต็มรูปแบบ ก่อนที่จะนำไปเผยแพร ต่อไป
            
 การตัดต่อลำดับภาพ หมายถึง การเชื่อมต่อกันระหว่างช็อต 2    ช็อต เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ด้วยภาพ ซึ่งสามารถกระทำได้ทั้ง ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยการนำชิ้นงานแต่ละช็อต แต่ละฉากมาเรียงกัน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและกลมกลืนกันด้วยเทคนิค วิธีต่างๆ จนกระทั่งสามารถเล่าเรื่องราวได้ตามบท (Script) ที่เขียนไว้
     ดังนั้นผู้ตัดต่อที่ดี ต้องคิดสรรช็อตที่ดีและฉากที่ดีมาเรียงต่อกัน โดยจะต้องคำนึงถึงความยาว จังหวะ รวมถึงอารมณ์ที่ ต้องการสื่อให้ผู้ รับสารได้ รับรู้ และที่สำคัญก็คือ ต้องคำนึงถึงความเป็นเอกภาพของเรื่องนั้นๆ ด้วย
            
 การตัดต่อภาพและเสียง หมายถึง กระบวนการนำภาพต่างๆ ที่บันทึกไว้มาลำดับเป็นเรื่องราวโดยอาศัยเครื่องมือตัดต่อ  รวมถึง การซ้อนตัวหนังสือ หรือการสร้างภาพพิเศษต่างๆ  เพื่อสร้างความสมบูรณ์ของรายการในการสื่อความหมาย   ตลอดจนการใส่เสียง บรรยาย เสียงประกอบ ตามรูปแบบของรายการนั้นๆ


Transitions และ การตัดต่อแบบต่างๆ

Transitions
   Fade     :  ภาพจาง
                       :  มี 2 แบบ คือ 
Fade in การเชื่อมภาพที่เปลี่ยนจากจอมืดมาเป็นภาพ
                                                 Fade out การเปลี่ยนจากภาพมาเป็นจอมืด
                        :  มักใช้ตอนเริ่มต้นและตอนจบของรายการ
                        :  บอกถึงการเปลี่ยนฉาก , เวลาผ่านไปแล้ว
   Wipe   :  การกวาดภาพ
                      :  การเชื่อมภาพ 2 ภาพบนหน้าจอ  โดยภาพที่ 1 ถูกแทนที่ด้วยภาพที่ 2
                      :  เลือกจาก Wipe Pattern ให้เลือกใช้  เช่น รูปแบบสี่เหลี่ยม  สามเหลี่ยม  วงกลม  ข้าวหลามตัด  ฯลฯ
   Dissolve   :   ภาพจางซ้อน
                            :   นำ 2 ภาพมาซ้อนกัน  ภาพหนึ่งค่อยๆ จางออกไป  ในขณะที่อีกภาพหนึ่งค่อยๆ จางเข้ามาแทนที่
                            :   แสดงถึงกาลเวลาที่ผ่านไป
                             :   mix / lap-dissolve
   Cut    :   การนำภาพมาเรียงต่อกันอย่างรวดเร็ว
                    :   เป็นการเชื่อมต่อภาพที่ใช้บ่อยมากที่สุด
การตัดต่อแบบต่างๆ
   Reaction Shot
          :  shot ที่แสดงให้เห็นอีกด้านหนึ่งของการกระทำ
          :  ได้จากการ insert ภาพ

   Over Re-action
          :  แบบเกินจริง  ตัดซ้ำๆๆ อย่างตั้งใจ
    Quick Cut
          :   ตัดแบบเร็วๆ  เพื่อดึงความสนใจและให้กระชับ
   Cut on Action
          :   ตัดระหว่างเคลื่อนไหว
          :   การเปลี่ยน shot ขณะที่คนกำลังจะนั่งลงหรือกำลังจะลุกขึ้น แล้วตัดภาพไปรับที่ shot ใหม่อีกมุมหนึ่งในกิริยาที่ต่อเนื่องกัน
    Split Edit
           :   ตัดโดยให้เสียงหรือภาพมาก่อน  แทนที่จะให้เสียงและภาพเปิดขึ้นมาพร้อมกัน


ระบบการตัดต่อ

ระบบการตัดต่อ
   มี 2 แบบ คือ ระบบ  Linear  และ  Non-Linear
 Linear   :   ตัดต่อโดยใช้เครื่องเล่น (player) และบันทึกวิดีโอเทป (recorder)
                   :   การลำดับภาพต้องทำไปตามลำดับก่อน-หลังของเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ
                   :   ถ้าต้องการจะแก้ไขงานในจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ความยาวของเทป เปลี่ยนไป  ต้องลำดับภาพใหม่ตั้งแต่จุดนั้นไปจนถึงจุดสุดท้าย
                   :   เป็นการลำดับภาพโดยใช้เทปเป็นหลัก
 ♦ Non-Linear    :    ตัดต่อบนเครื่องคอมพิวเตอร์
                             :    ลำดับภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ ภาพวิดีโอที่ถูกถ่ายมาจะต้องทำการแปลงสัญญาณภาพเป็นข้อมูลของคอมพิวเตอร์ก่อน แล้วโปรแกรมตัดต่อจะดึงเอาข้อมูลที่เก็บไว้ในฮาร์ทดิสก์ มาแสดงออกเป็นภาพอีกครั้ง
                             :    การลำดับภาพโดยใช้ฮาร์ทดิสก์เป็นหลัก
  ♦ ข้อดีของระบบ Non-Linear
ลงทุนต่ำ
ค้นหาและคัดเลือกภาพได้สะดวกรวดเร็ว   ไม่ต้องกรอกลับไป-มาเหมือนเทป
เลือกทำงานเป็นช่วงได้ตามอิสระ  ไม่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตั้งแต่ต้นจนจบ
ไม่เสียความคมชัดของภาพ
  ♦ ขั้นตอนการตัดต่อด้วยระบบ Non-Linear
1.    เลือกภาพที่ต้องการจะนำมาใช้
2.    นำเอาภาพเข้าไปเก็บในฮาร์ทดิสก์  :  capture หรือ digitize
3.    ตัดต่อ
4.    นำงานที่อยู่ในเครื่องตัดต่อลงเทป



การตัดต่อภาพ

การตัดต่อภาพ < EDIT >

   ♥  E   :   Elect        :   เลือก shot ที่ดีที่สุด
    
D   :   Decision     :  ตัดสินใจ อย่าเสียดาย shot
     
   I   :   Integrate    :  นำ shot มาร้อยเรียง เชื่อมโยงผสมผสาน
 
  ♥  T   :   Terminate    :  ทำให้สิ้นสุด จบลงด้วยดี
     การตัดต่อ Editing
          คือ  การนำเสนอภาพหลายภาพมาประกอบกันให้เป็นเรื่องราว  โดยการนำรายละเอียดของภาพและเหตุการณ์ที่สำคัญจากม้วนเทปที่ได้บันทึกไว้หลายๆม้วน  มาทำการเลือกสรรภาพใหม่ เพื่อเรียงลำดับให้ได้เนื้อหาตามบท  
          ภาพแต่ภาพที่นำมาลำดับไม่จำเป็นต้องสำคัญเท่ากันทุกภาพ
  ความสำคัญอาจจะลดหลั่นลงไปตามเนื้อหา  ภาพบางภาพเป็นหัวใจของการเกิดของเหตุการณ์  แต่บางภาพอาจเป็นส่วนประกอบ
          การตัดต่อภาพแต่ละครั้งจะทำให้ผู้ชมถูกกระตุ้นความรู้สึกขึ้นครั้งหนึ่ง แล้วความรู้สึกนั้นค่อยๆ ลดลง จนกระทั่งมีการตัดภาพใหม่อีกครั้งหนึ่ง
  ถ้าความยาวของภาพพอเหมาะ อารมณ์ของผู้ชมจะถูกกระตุ้นตามจังหวะ  ถ้าความยาวของภาพมากไป  อารมณ์ของผู้ชมจะราบเรียบไม่ตื่นเต้น
   การตัดต่อ มี 4 วิธี คือ
   1.  การเชื่อมภาพ (Combine)
         เป็นการนำภาพที่ถ่ายไว้ทั้งหมดมาเรียงลำดับ  โดยการเชื่อมภาพหรือ shot แต่ละ shot เข้าด้วยกันตามลำดับให้ถูกต้องตามบทโทรทัศน์  การเชื่อมภาพส่วนใหญ่จะใช้ในการผลิตนอกสถานที่ที่ใช้กล้องโทรทัศน์ตัวเดียว  สำหรับงานที่ผลิตในสตูดิโอที่มีกล้องหลายตัว ส่วนใหญ่มักจะเชื่อมภาพระหว่างการถ่ายทำ แต่ก็มีบ้างที่มาเชื่อมหลังการถ่ายทำ
   2.  การย่นย่อภาพ (Condense)
           เป็นการตัดต่อภาพเพื่อให้ได้เนื้อหาที่ต้องการจะสื่อสารในเวลาที่จำกัด  เช่น  การตัดต่องานข่าว โฆษณา   การตัดต่อเพื่อย่นย่อภาพนี้ เนื้อหาของภาพจะต้องกระชับ และได้ใจความในเวลาที่จำกัด  ฉะนั้นผู้ตัดต่อต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างมากในการย่นย่อภาพ  เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนที่สุดเพื่อเสนอต่อผู้ชม
   3.  การแก้ไขภาพ (Correct)
            เป็นการแก้ไขส่วนที่ผิดพลาดในการผลิต  โดยการตัดภาพหรือเสียงที่ไม่ต้องการออกไป  หรือแทรกภาพใหม่และเสียงใหม่เข้าไปแทนที่ภาพและเสียงเดิมได้  นอกจากนั้นความผิดพลาดที่เกิดจากสีและระดับเสียงที่เกิดจากการถ่ายแต่ละครั้ง (Take) แต่ละวันไม่เท่ากัน หรือความไม่ต่อเนื่องของภาพ (Continuty) ทิศทางของภาพ (Directional) ไม่ถูกต้อง  การตัดต่อสามารถแก้ไขได้
   4.  การสร้างภาพ (Build)
            เป็นการตัดต่อโดยใช้อุปกรณ์พิเศษของเครื่องตัดต่อ เช่น การทำภาพจาง (Fade) ภาพจางซ้อน (Dissolve) กวาดภาพ (Wipe) หรือเทคนิคอื่นๆ เข้าช่วย เพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าฉากนี้ได้เปลี่ยนเวลา เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนสถานการณ์แวดล้อม


สอนทำ VDO Stop Motion ภายใน 1 นาที

สอนตัดต่อStopmotion

สอนตัดต่อStopmotion

สอนตัดต่อStopmotion

สอนตัดต่อStopmotionด้วย Sony Vegas Pro 10


      1. นำวีดีโอที่ต้องการทำ ใส่ลงไปใน Video Track โดยวีดีโอควรมีความยาวอย่างน้อยซัก 25 วินาทีครับ เพื่อที่เราจะได้ภาพในการทำมากขึ้นครับ     

      2. เลือกช่วงของวีดีโอที่จะทำการตัดต่อให้เป็นแนว stop motion โดยการกด m เพื่อใส่ Mark และทำการเลือกช่วงที่จะ render
       3. ทำการ render ไฟล์เป็นแบบรูปภาพครับ เค้าเรียกว่า Image Sequence ครับ อธิบายแบบบ้านหมายถึง กระบวนการของโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ที่จะดึงภาพออกมาจากวีดีโอ เราสามารถเลือกนามสกุลของรูปภาพได้ครับ ไม่ว่าจะเป็น JPEG, BMP, PNG, TIFF ผมขอเลือกเป็นแบบ JPEG ครับ เพราะภาพมีความคมชัดใช้ได้และมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปครับ อ้อ..อย่าลืมสร้างโฟลเดอร์ไว้เก็บภาพเหล่านี้ด้วยนะครับ เพราะมันจะมีภาพหลายร้อยภาพเกิดขึ้นครับ ไม่งั้นจะปวดหัวภายหลังครับ




**  อันนี้ขอนอกเรื่องนิดหน่อยครับ ในกรณีที่เรามี Image Sequence แล้วเราต้องการทำภาพเหล่านั้นให้กลายเป็นวีดีโอ เรามีวิธีทำง่ายๆดังนี้ครับ ให้เราเลือก open media จากโปรแกรม ในช่องเลือกไฟล์ด้านล่างจะมีคำว่า open still image sequence ให้เราติ๊กถูกที่ช่องนี้ด้วยครับ ไปดูภาพกันดีกว่าครับ เดี๋ยวจะงงกันไปซะก่อน



      4. ขั้นตอนตัดต่อวีดีโอขั้นต่อไป ต้องใช้แรงอึดกันซักนิดครับ ให้เราเลือกภาพที่ห่างกัน 20 ภาพ หมายความว่า ภาพแรก 1_000000 ภาพที่จะเลือกต่อไปควรจะเป็น 1_000020 ครับ เลือกไป
จนถึงภาพลำดับสุดท้ายครับ แล้วทำการ copy เพื่อเก็บในโฟลเดอร์ใหม่ครั



        จากการทดลองของผม ภาพที่ควรนำมามาทำ stop motion ควรจะมีระยะห่างกันประมาณ 20 ภาพครับ ถ้าน้อยกว่านี้ ภาพจะดูต่อเนื่องเกินไปครับ และถ้ามากกว่านี้ จะได้ภาพที่เอาไว้ใช้น้อยครับ


       5. นำภาพที่เราเลือกเอาไว้แล้วทั้ง 35 ภาพใส่เข้าไปในโปรแกรมครับ
       6. ปรับการตั้งค่าของ Sony Vegas Pro 10 ครับ โดยให้แต่ละรูปภาพที่วางลงบน Video Track ให้มีความยาวเพียง 0.1 วินาทีครับ เพื่อให้การแสดงในแต่ละภาพไม่ยาวนานเกินไป
  


      7. จากนั้นให้เลือกภาพทั้งหมด 35 ภาพ อาจจะกด Ctrl และ a พร้อมกัน แล้วลากลงไปวางใน Video Track ด้านล่าง แค่นี้ก็สำเร็จแล้วครับ


      8. ทำการ render ให้เป็นไฟล์วีดีโอออกมา 



ตัวอย่าง Stopmotion

สตอปโมชัน

สตอปโมชัน
        เป็นแอนิเมชันที่ผู้ทำแอนิเมชันต้องสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิด ๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรม ๆ

เทคนิค
      การถ่ายสต็อปโมชันมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่น
เคลย์แอนิเมชัน (Clay animation เรียกย่อ ๆ ว่า เคลย์เมชัน / claymation)
        คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว
 ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้
คัตเอาต์แอนิเมชัน (Cutout animation)
       สมัยก่อนทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ
, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย
กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
      เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่าง ๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร
 หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้
โมเดลแอนิเมชัน (Model animation)
       คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและฉากหลังเหมือนจริง
แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
      ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น
 ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียว
พิกซิลเลชัน (Pixilation)
      เป็นสต็อปโมชันที่ใช้คนจริง ๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆ


ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/สตอปโมชัน

การแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่น

แนวทางในการแก้ไขปัญหาวัยรุ่นที่แต่งกายล่อแหลม
      
      1. กระทรวงศึกษาธิการ  กระทรวงวัฒนธรรม  สถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  ควรร่วมมือร่วมใจกันรณรงค์การแต่งกายให้เหมาะสม
      2. ทางด้านสถาบันการศึกษาควรที่จะกำหนดกฎระเบียบ และกวดขันในเรื่องการแต่งกายอย่างเคร่งครัด ควรมีการกำหนดบทลงโทษเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสม เพื่อให้นักศึกษาเกรงกลัวและปฎิบัติตาม
      3. ทางด้านสื่อต่างๆ ควรจะนำเสนอตัวแบบหรือพรีเซนต์เตอร์การแต่งกายที่เหมาะสม เพื่อให้เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการแต่งกาย




การแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่น


ภัยเสื้อนักศึกษารัดติ้วส่งผลสมองไม่พัฒนา
 
    ดร.จิตรากล่าวด้วยว่า ชุดนิสิต นักศึกษาที่รัดมากๆ จะทำให้ผู้สวมใส่หายใจได้สั้นและตื้น ทำให้นำออกซิเจนไปสู่สมองและเซลล์ทั่วร่างกายได้ไม่ทั่วถึง จึงนำไปสู่ปัญหาทางร่างกาย ทำให้เหนื่อยง่าย วิงเวียน ไม่มีสมาธิ โดยเฉพาะสมองไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร อาจจะนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ ได้เกือบทุกโรค
 ทั้งนี้ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากการสวมใส่เสื้อตัวเล็กทำให้กินอาหารได้น้อย หรือบางคนอาจจะไม่ยอมกินอาหาร ดังนั้น นิสิตนักศึกษาไม่ควรจะสวมเสื้อตัวเล็ก เพราะจะทำให้หายใจไม่สะดวก จะเกิดผลร้ายต่อร่างกายได้ อยากจะให้หันมาออกกำลังกาย และสร้างแนวคิดใหม่ คนสวยรูปร่างดีต้องเป็นคนที่มีสุขภาพดี แข็งแรง มีกล้ามเนื้อ มากกว่าจะเน้นกันที่ผอมเพียงอย่างเดียว

การแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่น

ผลกระทบของการแต่งกายล่อแหลม
         
           
 ลามกอนาจารจากการแอบถ่าย
            ล่วงละเมิดทางเพศ
            ข่มขื่น
            ภัยลวนลามบนรถโดยสาร
 
           เป็นที่ล่อตาของคนอนาจาร

การแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่น

แต่งกายอย่างไรถึงเรียกว่าแต่งกายล่อแหลม
      
          
  สวมใส่เสื้อผ้าสั้นเกินจำเป็น 
         
  สวมใส่เสื้อผ้าบาง
         
  สวมใส่เสื้อผ้าไม่ใส่ชุดชั้นใน
         
  สวมใส่เสื้อผ้าที่มีรู
         
  สวมใส่เสื้อเกาะอก
         
  สวมใส่เสื้อผ้ารัดรูป