วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
               การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการหรือวิธีถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มักจะอยู่ห่างไกลกัน ต้องอาศัยระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นสื่อกลาง

               เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งสามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
       1. ข่าวสาร ในทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ข่าวสารเป็นข้อมูลที่ผู้ส่งทำการส่งไปยังผู้รับผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบ ดังต่อไปนี้
       2. ผู้ส่ง เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่อยู่ต้นทาง โดยข้อมูลต้องถูกจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์ส่งข้อมูล
       3. ผู้รับ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งข้อมูล เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
       4. สื่อกลางหรือตัวกลาง เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำข่าวสารรูปแบบต่างๆจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ได้แก่สายไฟ ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น สื่อกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม คลื่นวิทยุ เป็นต้น
       5. โพรโตคอล เป็นตัวกำหนดคุณลักษณะ กฎระเบียบ หรือวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกัน และสามารถสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
       6. ซอฟต์แวร์ เป็นโปรแกรมสำหรับดำเนินการและควบคุมการส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft Windows XP/Vista/7, Unix , Internet Explorer , Windows Live Message เป็นต้น



องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
     หน่วยรับเข้า (Input Unit)
         ทำหน้าที่รับข้อมูลคำสั่งจากผู้ใช้ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผล โดยผ่านอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูล
    หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
         ทำหน้าที่ประมวลผล คำนวณ และควบคุมการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์

         1. หน่วยควบคุม (Control Unit : CU)  => ทำหน้าที่อ่านคำสั่ง สั่งงาน และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
         2. หน่วยคำนวณตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit : ALU)  => ทำหน้าที่คำนวณด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบข้อมูลมากกว่า น้อยกว่า เป็นต้
 
    หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
         เป็นหน่วยเก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งโปรแกรมขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล หน่วยความจำหลักแบ่งออกเป็น
2 ประเภท
         1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM)
          เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ได้บรรจุชิปหน่วยความจำแบบติดตั้งถาวร หรือไบออส บนแผงวงจรหลักเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลที่บรรจุลงไปในหน่วยความจำจะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่องไปแล้ว แต่ไม่สามารถบรรจุข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้

         2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory : RAM)
          เป็นหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง มีหน้าที่จดจำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูลที่จะทำการประมวลผล หากเกิดไฟฟ้าดับหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลที่อยู่ภายในจะหายไปทั้งหมด
     หน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit)
         เป็นหน่วยความจำที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไป ไม่มีทางสูญหายหลังจากเปิดเรื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
 
    หน่วยส่งออก (Output Unit)
         ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมาให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ได้ตามต้องการ

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
      

               การทำงานของคอมพิวเตอร์เริ่มต้นจากผู้ใช้งานป้อนข้อมูล หรือคำสั่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล  (Input Unit) ไปประมวลผล (Central Processing Unit) เพื่อประมวลผลตามข้อมูลหรือคำสั่งที่ได้รับ อาจมีการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เพื่อการประมวลผล แล้วแสดงผลลัพธ์ผ่านทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Unit) ชนิดต่างๆ หากผู้ใช้ต้องการการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ ก็จะทำการบันทึกข้อมูลลงหน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit) ชนิดต่างๆ ต่อไป

                        

องค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
     หน่วยรับเข้า (Input Unit)
         ทำหน้าที่รับข้อมูลคำสั่งจากผู้ใช้ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผล โดยผ่านอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูล
    หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
         ทำหน้าที่ประมวลผล คำนวณ และควบคุมการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์

         1. หน่วยควบคุม (Control Unit : CU)  => ทำหน้าที่อ่านคำสั่ง สั่งงาน และควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
         2. หน่วยคำนวณตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit : ALU)  => ทำหน้าที่คำนวณด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบข้อมูลมากกว่า น้อยกว่า เป็นต้
 
    หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
         เป็นหน่วยเก็บข้อมูลก่อนนำไปประมวลผล เก็บคำสั่งโปรแกรมขณะใช้งาน และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำไปแสดงผล หน่วยความจำหลักแบ่งออกเป็น
2 ประเภท
         1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory : ROM)
          เป็นหน่วยความจำที่บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ได้บรรจุชิปหน่วยความจำแบบติดตั้งถาวร หรือไบออส บนแผงวงจรหลักเรียบร้อยแล้ว โดยข้อมูลที่บรรจุลงไปในหน่วยความจำจะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่องไปแล้ว แต่ไม่สามารถบรรจุข้อมูลเพิ่มเติมลงไปได้

         2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory : RAM)
          เป็นหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง มีหน้าที่จดจำคำสั่งที่เป็นโปรแกรมและข้อมูลที่จะทำการประมวลผล หากเกิดไฟฟ้าดับหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลที่อยู่ภายในจะหายไปทั้งหมด
     หน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit)
         เป็นหน่วยความจำที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไป ไม่มีทางสูญหายหลังจากเปิดเรื่องคอมพิวเตอร์แล้ว
 
    หน่วยส่งออก (Output Unit)
         ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมาให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ได้ตามต้องการ

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
      

        การทำงานของคอมพิวเตอร์เริ่มต้นจากผู้ใช้งานป้อนข้อมูล หรือคำสั่งผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล (Input Unit) ไปประมวลผล (Central Processing Unit) เพื่อประมวลผลตามข้อมูลหรือคำสั่งที่ได้รับ อาจมีการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เพื่อการประมวลผล แล้วแสดงผลลัพธ์ผ่านทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Unit) ชนิดต่างๆ หากผู้ใช้ต้องการการบันทึกข้อมูลเก็บไว้ ก็จะทำการบันทึกข้อมูลลงหน่วยความจำรอง (Secondary Memory Unit) ชนิดต่างๆ ต่อไป

                        

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ความสำคัญของการตัดต่อ

ความสำคัญของการตัดต่อ
    
       การตัดต่อลำดับภาพมีความสำคัญในส่วนที่ทำให้ผู้ดูเข้าใจเรื่องราวที่นําเสนอและได้อารมณ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่ม จนจบเรื่อง

1. การดึงผู้ดูให้เข้าไปเกี่ยวของและเป็นส่วนหนึ่งกับเหตุการณ์ในเรื่องทำให้ผู้ดูเกิดสภาพอารมณ์ตามที่ผู้ตัดต่อต้องการ
2.  การสร้างเรื่องราวอย่างต่อเนื่อง
3.  การเชื่อมต่อภาพให้ดูลื่นไหล
4.  การแก้ไขจุดบกพร่องที่อาจจะเกิดมาจากการถ่ายทำ
5.  การกำหนดเวลา หรือ การกําจัดเวลา



ที่มา : https://sites.google.com/site/digital57402/sux-dicithal/thekhnikh-kar-tad-tx-phaph-dwy-sux-dicithal

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อลำดับภาพด้วยระบบดิจิทัล (คอมพิวเตอร์)

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการตัดต่อลำดับภาพด้วยระบบดิจิทัล 
(คอมพิวเตอร์)

อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (
Hardware)
☼  1.   กล่องวีดิโอดิจิทัล (Video Digital Camera) กลองวีดิโอดิจิทัลในปัจจุบันมีมากมายหลายยี่ห้อ และหลายรุ่น ราคาแตกตางกันออกไป ทั้งนี้ราคาของกล้องวีดิโอดิจิทัลจะขึ้นอยู่กับความละเอียดของภาพและความคม ชัดของเสียงที่บันทึกได้ การจัดเก็บ ข้อมูลที่บันทึกได้มักนิยมเก็บไว้ในเทปที่เรียกว่า  Mini DV เพราะเก็บขอมูลภาพวีดิโอได้มาก
☼  2.   สาย Fire Wire หรือ สาย I-link เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างกล้องและคอมพิวเตอร์ เพื่อถ่ายโอนข้อมูล
☼  3.   การ์ดจับภาพ (capture card) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการนำภาพวีดิโอออกจากกล้องเพื่อนำเขาเครื่องคอมพิวเตอร์
☼  4.  โปรแกรมที่ใช้สำหรับงานตัดต่อ ไดแก่
    •  โปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อไฟล์วีดิโอ เช่น Window  Movie  Maker,   Ulead Video   Studio,   Adobe  Premiere,
Macromedia Director  เป็นต้น
    •  โปรแกรมที่ใช้ในการแปลงไฟล์ เช่น ImTOO MPEG Encoder, WMA Converter, WinAVI Video Converter, Speed
Video Converter เป็นต้น
    •  โปรแกรมที่ใช้เขียนข้อมูลเพื่อสร้างแผ่น VCD  หรอ DVD    เช่น  Nero  Burning  Rom,  ultra  iso  ,  Alcohol  120%  , IsoBurner , Smart Tip (Freeware) เป็นต้น


การตัดต่อ

การตัดต่อ
        
            
 การตัดต่อภาพยนตร์ เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งในการสร้างภาพยนตร์ ซึ่งหมายถึง การลำดับภาพจากภาพยนตร์ที่ถ่าย ทำไว้ โดยนำแต่ละฉากมาเรียงร้อยกันตามโครงเรื่อง จากนั้นก็จะใช้เทคนิคการตัดต่อให้ภาพและเสียงมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เพื่อให้ได้ภาพยนตร์ที่มีความสมบูรณ์เต็มรูปแบบ ก่อนที่จะนำไปเผยแพร ต่อไป
            
 การตัดต่อลำดับภาพ หมายถึง การเชื่อมต่อกันระหว่างช็อต 2    ช็อต เพื่อเล่าเรื่องราวต่างๆ ด้วยภาพ ซึ่งสามารถกระทำได้ทั้ง ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว โดยการนำชิ้นงานแต่ละช็อต แต่ละฉากมาเรียงกัน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและกลมกลืนกันด้วยเทคนิค วิธีต่างๆ จนกระทั่งสามารถเล่าเรื่องราวได้ตามบท (Script) ที่เขียนไว้
     ดังนั้นผู้ตัดต่อที่ดี ต้องคิดสรรช็อตที่ดีและฉากที่ดีมาเรียงต่อกัน โดยจะต้องคำนึงถึงความยาว จังหวะ รวมถึงอารมณ์ที่ ต้องการสื่อให้ผู้ รับสารได้ รับรู้ และที่สำคัญก็คือ ต้องคำนึงถึงความเป็นเอกภาพของเรื่องนั้นๆ ด้วย
            
 การตัดต่อภาพและเสียง หมายถึง กระบวนการนำภาพต่างๆ ที่บันทึกไว้มาลำดับเป็นเรื่องราวโดยอาศัยเครื่องมือตัดต่อ  รวมถึง การซ้อนตัวหนังสือ หรือการสร้างภาพพิเศษต่างๆ  เพื่อสร้างความสมบูรณ์ของรายการในการสื่อความหมาย   ตลอดจนการใส่เสียง บรรยาย เสียงประกอบ ตามรูปแบบของรายการนั้นๆ


Transitions และ การตัดต่อแบบต่างๆ

Transitions
   Fade     :  ภาพจาง
                       :  มี 2 แบบ คือ 
Fade in การเชื่อมภาพที่เปลี่ยนจากจอมืดมาเป็นภาพ
                                                 Fade out การเปลี่ยนจากภาพมาเป็นจอมืด
                        :  มักใช้ตอนเริ่มต้นและตอนจบของรายการ
                        :  บอกถึงการเปลี่ยนฉาก , เวลาผ่านไปแล้ว
   Wipe   :  การกวาดภาพ
                      :  การเชื่อมภาพ 2 ภาพบนหน้าจอ  โดยภาพที่ 1 ถูกแทนที่ด้วยภาพที่ 2
                      :  เลือกจาก Wipe Pattern ให้เลือกใช้  เช่น รูปแบบสี่เหลี่ยม  สามเหลี่ยม  วงกลม  ข้าวหลามตัด  ฯลฯ
   Dissolve   :   ภาพจางซ้อน
                            :   นำ 2 ภาพมาซ้อนกัน  ภาพหนึ่งค่อยๆ จางออกไป  ในขณะที่อีกภาพหนึ่งค่อยๆ จางเข้ามาแทนที่
                            :   แสดงถึงกาลเวลาที่ผ่านไป
                             :   mix / lap-dissolve
   Cut    :   การนำภาพมาเรียงต่อกันอย่างรวดเร็ว
                    :   เป็นการเชื่อมต่อภาพที่ใช้บ่อยมากที่สุด
การตัดต่อแบบต่างๆ
   Reaction Shot
          :  shot ที่แสดงให้เห็นอีกด้านหนึ่งของการกระทำ
          :  ได้จากการ insert ภาพ

   Over Re-action
          :  แบบเกินจริง  ตัดซ้ำๆๆ อย่างตั้งใจ
    Quick Cut
          :   ตัดแบบเร็วๆ  เพื่อดึงความสนใจและให้กระชับ
   Cut on Action
          :   ตัดระหว่างเคลื่อนไหว
          :   การเปลี่ยน shot ขณะที่คนกำลังจะนั่งลงหรือกำลังจะลุกขึ้น แล้วตัดภาพไปรับที่ shot ใหม่อีกมุมหนึ่งในกิริยาที่ต่อเนื่องกัน
    Split Edit
           :   ตัดโดยให้เสียงหรือภาพมาก่อน  แทนที่จะให้เสียงและภาพเปิดขึ้นมาพร้อมกัน


ระบบการตัดต่อ

ระบบการตัดต่อ
   มี 2 แบบ คือ ระบบ  Linear  และ  Non-Linear
 Linear   :   ตัดต่อโดยใช้เครื่องเล่น (player) และบันทึกวิดีโอเทป (recorder)
                   :   การลำดับภาพต้องทำไปตามลำดับก่อน-หลังของเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ
                   :   ถ้าต้องการจะแก้ไขงานในจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ความยาวของเทป เปลี่ยนไป  ต้องลำดับภาพใหม่ตั้งแต่จุดนั้นไปจนถึงจุดสุดท้าย
                   :   เป็นการลำดับภาพโดยใช้เทปเป็นหลัก
 ♦ Non-Linear    :    ตัดต่อบนเครื่องคอมพิวเตอร์
                             :    ลำดับภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ ภาพวิดีโอที่ถูกถ่ายมาจะต้องทำการแปลงสัญญาณภาพเป็นข้อมูลของคอมพิวเตอร์ก่อน แล้วโปรแกรมตัดต่อจะดึงเอาข้อมูลที่เก็บไว้ในฮาร์ทดิสก์ มาแสดงออกเป็นภาพอีกครั้ง
                             :    การลำดับภาพโดยใช้ฮาร์ทดิสก์เป็นหลัก
  ♦ ข้อดีของระบบ Non-Linear
ลงทุนต่ำ
ค้นหาและคัดเลือกภาพได้สะดวกรวดเร็ว   ไม่ต้องกรอกลับไป-มาเหมือนเทป
เลือกทำงานเป็นช่วงได้ตามอิสระ  ไม่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตั้งแต่ต้นจนจบ
ไม่เสียความคมชัดของภาพ
  ♦ ขั้นตอนการตัดต่อด้วยระบบ Non-Linear
1.    เลือกภาพที่ต้องการจะนำมาใช้
2.    นำเอาภาพเข้าไปเก็บในฮาร์ทดิสก์  :  capture หรือ digitize
3.    ตัดต่อ
4.    นำงานที่อยู่ในเครื่องตัดต่อลงเทป



การตัดต่อภาพ

การตัดต่อภาพ < EDIT >

   ♥  E   :   Elect        :   เลือก shot ที่ดีที่สุด
    
D   :   Decision     :  ตัดสินใจ อย่าเสียดาย shot
     
   I   :   Integrate    :  นำ shot มาร้อยเรียง เชื่อมโยงผสมผสาน
 
  ♥  T   :   Terminate    :  ทำให้สิ้นสุด จบลงด้วยดี
     การตัดต่อ Editing
          คือ  การนำเสนอภาพหลายภาพมาประกอบกันให้เป็นเรื่องราว  โดยการนำรายละเอียดของภาพและเหตุการณ์ที่สำคัญจากม้วนเทปที่ได้บันทึกไว้หลายๆม้วน  มาทำการเลือกสรรภาพใหม่ เพื่อเรียงลำดับให้ได้เนื้อหาตามบท  
          ภาพแต่ภาพที่นำมาลำดับไม่จำเป็นต้องสำคัญเท่ากันทุกภาพ
  ความสำคัญอาจจะลดหลั่นลงไปตามเนื้อหา  ภาพบางภาพเป็นหัวใจของการเกิดของเหตุการณ์  แต่บางภาพอาจเป็นส่วนประกอบ
          การตัดต่อภาพแต่ละครั้งจะทำให้ผู้ชมถูกกระตุ้นความรู้สึกขึ้นครั้งหนึ่ง แล้วความรู้สึกนั้นค่อยๆ ลดลง จนกระทั่งมีการตัดภาพใหม่อีกครั้งหนึ่ง
  ถ้าความยาวของภาพพอเหมาะ อารมณ์ของผู้ชมจะถูกกระตุ้นตามจังหวะ  ถ้าความยาวของภาพมากไป  อารมณ์ของผู้ชมจะราบเรียบไม่ตื่นเต้น
   การตัดต่อ มี 4 วิธี คือ
   1.  การเชื่อมภาพ (Combine)
         เป็นการนำภาพที่ถ่ายไว้ทั้งหมดมาเรียงลำดับ  โดยการเชื่อมภาพหรือ shot แต่ละ shot เข้าด้วยกันตามลำดับให้ถูกต้องตามบทโทรทัศน์  การเชื่อมภาพส่วนใหญ่จะใช้ในการผลิตนอกสถานที่ที่ใช้กล้องโทรทัศน์ตัวเดียว  สำหรับงานที่ผลิตในสตูดิโอที่มีกล้องหลายตัว ส่วนใหญ่มักจะเชื่อมภาพระหว่างการถ่ายทำ แต่ก็มีบ้างที่มาเชื่อมหลังการถ่ายทำ
   2.  การย่นย่อภาพ (Condense)
           เป็นการตัดต่อภาพเพื่อให้ได้เนื้อหาที่ต้องการจะสื่อสารในเวลาที่จำกัด  เช่น  การตัดต่องานข่าว โฆษณา   การตัดต่อเพื่อย่นย่อภาพนี้ เนื้อหาของภาพจะต้องกระชับ และได้ใจความในเวลาที่จำกัด  ฉะนั้นผู้ตัดต่อต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างมากในการย่นย่อภาพ  เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจนที่สุดเพื่อเสนอต่อผู้ชม
   3.  การแก้ไขภาพ (Correct)
            เป็นการแก้ไขส่วนที่ผิดพลาดในการผลิต  โดยการตัดภาพหรือเสียงที่ไม่ต้องการออกไป  หรือแทรกภาพใหม่และเสียงใหม่เข้าไปแทนที่ภาพและเสียงเดิมได้  นอกจากนั้นความผิดพลาดที่เกิดจากสีและระดับเสียงที่เกิดจากการถ่ายแต่ละครั้ง (Take) แต่ละวันไม่เท่ากัน หรือความไม่ต่อเนื่องของภาพ (Continuty) ทิศทางของภาพ (Directional) ไม่ถูกต้อง  การตัดต่อสามารถแก้ไขได้
   4.  การสร้างภาพ (Build)
            เป็นการตัดต่อโดยใช้อุปกรณ์พิเศษของเครื่องตัดต่อ เช่น การทำภาพจาง (Fade) ภาพจางซ้อน (Dissolve) กวาดภาพ (Wipe) หรือเทคนิคอื่นๆ เข้าช่วย เพื่อให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าฉากนี้ได้เปลี่ยนเวลา เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนสถานการณ์แวดล้อม


สอนทำ VDO Stop Motion ภายใน 1 นาที

สอนตัดต่อStopmotion

สอนตัดต่อStopmotion

สอนตัดต่อStopmotion

สอนตัดต่อStopmotionด้วย Sony Vegas Pro 10


      1. นำวีดีโอที่ต้องการทำ ใส่ลงไปใน Video Track โดยวีดีโอควรมีความยาวอย่างน้อยซัก 25 วินาทีครับ เพื่อที่เราจะได้ภาพในการทำมากขึ้นครับ     

      2. เลือกช่วงของวีดีโอที่จะทำการตัดต่อให้เป็นแนว stop motion โดยการกด m เพื่อใส่ Mark และทำการเลือกช่วงที่จะ render
       3. ทำการ render ไฟล์เป็นแบบรูปภาพครับ เค้าเรียกว่า Image Sequence ครับ อธิบายแบบบ้านหมายถึง กระบวนการของโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ที่จะดึงภาพออกมาจากวีดีโอ เราสามารถเลือกนามสกุลของรูปภาพได้ครับ ไม่ว่าจะเป็น JPEG, BMP, PNG, TIFF ผมขอเลือกเป็นแบบ JPEG ครับ เพราะภาพมีความคมชัดใช้ได้และมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปครับ อ้อ..อย่าลืมสร้างโฟลเดอร์ไว้เก็บภาพเหล่านี้ด้วยนะครับ เพราะมันจะมีภาพหลายร้อยภาพเกิดขึ้นครับ ไม่งั้นจะปวดหัวภายหลังครับ




**  อันนี้ขอนอกเรื่องนิดหน่อยครับ ในกรณีที่เรามี Image Sequence แล้วเราต้องการทำภาพเหล่านั้นให้กลายเป็นวีดีโอ เรามีวิธีทำง่ายๆดังนี้ครับ ให้เราเลือก open media จากโปรแกรม ในช่องเลือกไฟล์ด้านล่างจะมีคำว่า open still image sequence ให้เราติ๊กถูกที่ช่องนี้ด้วยครับ ไปดูภาพกันดีกว่าครับ เดี๋ยวจะงงกันไปซะก่อน



      4. ขั้นตอนตัดต่อวีดีโอขั้นต่อไป ต้องใช้แรงอึดกันซักนิดครับ ให้เราเลือกภาพที่ห่างกัน 20 ภาพ หมายความว่า ภาพแรก 1_000000 ภาพที่จะเลือกต่อไปควรจะเป็น 1_000020 ครับ เลือกไป
จนถึงภาพลำดับสุดท้ายครับ แล้วทำการ copy เพื่อเก็บในโฟลเดอร์ใหม่ครั



        จากการทดลองของผม ภาพที่ควรนำมามาทำ stop motion ควรจะมีระยะห่างกันประมาณ 20 ภาพครับ ถ้าน้อยกว่านี้ ภาพจะดูต่อเนื่องเกินไปครับ และถ้ามากกว่านี้ จะได้ภาพที่เอาไว้ใช้น้อยครับ


       5. นำภาพที่เราเลือกเอาไว้แล้วทั้ง 35 ภาพใส่เข้าไปในโปรแกรมครับ
       6. ปรับการตั้งค่าของ Sony Vegas Pro 10 ครับ โดยให้แต่ละรูปภาพที่วางลงบน Video Track ให้มีความยาวเพียง 0.1 วินาทีครับ เพื่อให้การแสดงในแต่ละภาพไม่ยาวนานเกินไป
  


      7. จากนั้นให้เลือกภาพทั้งหมด 35 ภาพ อาจจะกด Ctrl และ a พร้อมกัน แล้วลากลงไปวางใน Video Track ด้านล่าง แค่นี้ก็สำเร็จแล้วครับ


      8. ทำการ render ให้เป็นไฟล์วีดีโอออกมา